โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเรื้อนกวางเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดการอักเสบบนผิวหนัง โรคนี้มักไม่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญมากนัก รวมทั้งคนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งๆ ที่โรคนี้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ป่วยและคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเป็นผื่นปื้นแดง มีสะเก็ดขุยหนาหลุดลอก เนื่องจากผิวหนังมีวงจรการผลัดเซลล์ผิวที่สั้นลง ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยถึงร้อยละ 3 ของประชากรโลก องค์กรอนามัยโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาของโรคสะเก็ดเงิน จึงจัดตั้งให้วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันสะเก็ดเงินโลก |
||||
โรคสะเก็ดเงิน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ป่วย ทั้งหญิงและชาย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20-50 ปี สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักพบว่าจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน รวมถึงมีปัจจัยบางอย่างที่มากระตุ้น เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การบาดเจ็บของผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงระดับ ฮอร์โมน (ผื่นมักเริ่มเกิดในช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเป็นสาว) และยาบางชนิด ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยทั่วไปผื่นสะเก็ดเงินมักไม่พบที่บริเวณใบหน้า นอกจากนี้เมื่อผื่น สะเก็ดเงินหายแล้ว จะไม่มีรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่ สำหรับอาการของโรคสะเก็ดเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดประมาณ 80% ของคนไข้ โดยจะเป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนา สีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า “โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียดสี 2.ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) จะเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน 3.ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) จะเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งพบได้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 4.ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจเกิดจากการขาดยาหรือมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางรายพบการอักเสบของข้อร่วมอยู่ด้วย พบได้ทั้งที่เป็นข้อใหญ่ และข้อเล็ก อาจเป็นข้อเดียว หรือหลายข้อก็ได้ ส่วนใหญ่การอักเสบของมือจะเกิดที่ข้อนิ้วมือ ซึ่งหากเป็นเรื้อรังจะให้เกิดการผิดรูปได้ สำหรับแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากมีความรุนแรงน้อย จะใช้รักษาโดยใช้ยาทา แต่หากมีความรุนแรงมาก ให้รักษาโดยใช้ยารับประทาน หรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทานและฉายแสงอาทิตย์เทียม ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมในการรักษาแต่ละประเภทสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน 1. ยาทาภายนอก มีหลายชนิด ได้แก่ ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ น้ำมันดิน แอนทราลิน อนุพันธ์วิตามินดี และยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus, pimecrolimus) เป็นยากลุ่มใหม่ที่นำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโคสเตียรอยด์ แต่ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากยามีราคาแพง 2. ยารับประทาน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิดได้แก่ เมทโทเทรกเสท อาซิเทรติน และ ไซโคลสปอริน 3. การฉายแสงอาทิตย์เทียม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษาสะเก็ดเงิน โดยจะใช้รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ รังสีอัลตราไวโอเลต A และรังสีอัลตราไวโอเลต B 4. ยาฉีดชีวภาพ เป็นการรักษามีใช้มาประมาณ 10 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนอง หรือมีผลข้างเคียงจากการรักษา 3 ชนิดข้างต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินควรดูแลตัวเอง โดยการควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน หลีกเลี่ยงจากความเครียด การอดนอน การติดเชื้อ การเจ็บป่วย การเกา เนื่องจากกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ ดังนั้น การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และเมื่อมีการเจ็บป่วย ติดเชื้อ ควรรีบดูแลรักษาโดยเร็ว นอกจากนี้ควรดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ โรคสะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ หากผู้ป่วยและคนรอบข้างมีความรู้และความเข้าใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง จะสามารถควบคุมโรคได้ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จีเฮิร์บ เหมาะสำหรับโรคสะเก็ดเงินอย่างไร ?
ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายแต่ของละบุคคล และ การดำเนินชีวิตในประจำวันที่ถูกต้อง |